วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเผยแพร่อิทธิพลสกุลช่างกำแพงเพชรไปยังพะเยและล้านนาเชียงแสน

และนอกจากศิลปะสกุลช่างกำแพงเพชรของเรานั้นจะเผยแพร่อิทธิพลไปเป็นส่วนหนึ่งส่วนเสริมเป็นรูปแบบต้นแบบดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาแล้วยังได้มีการเผยแพร่อิทธิพลเกี่ยวกับในด้านพุทธปะติมากรรมพระพุทธทางตอนเหนืออีกด้วย ซึ่งอยู่ในแถบของเมืองพะเยาทางตอนเหนือ พระพุทธรูปสลักจากศิลาทรายสกุลช่างพะเยาในระยะแรกๆมีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก จากนั้นจึงปรากฏการรับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร อยู่ในช่วงสั้นๆก่อนจะมีวัฒนาการจนมีลักษณะเป็นพื้นบ้านไปในที่สุด การคลี่คลายเป็นลักษณะพื้นบ้านของพระพุทธรูปสลักหินสกุลช่างพะเยานี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการคลี่คลายของพระพุทธรูปตามเมืองอื่นๆในดินแดนล้านนารวมทั้งที่เมืองเชียงใหม่แต่เนื่องจากเป็นงานสลักศิลาจึงมีการคลี่คลายที่หลากหลายน้อยกว่าในพระพุทธรูปสำริดหรือปูนปั้น และอาจเป็นเพราะพะเยาเป็นเมืองชายเขตที่ห่างไกลจากศูนย์กลางจึงทำให้มีวิวัฒนาการทางศิลปะดำเนินไปช้ากว่าเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์กลาง
 การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธรูปสลักศิลาสกุลช่างพะเยา อาจแบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบคือ
1.พระพุทธรูปสลักศิลาที่มีรูปแบบสัมพันธ์กันกับพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดแบบเชียงแสนรุ่นแรก
2.พระพุทธรูปรุ่นแรกของศิลปะสุโขทัยที่ปั้นด้วยปูน ทั้งยังเกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะหริภุญไชย โดยการสลักนิ้วพระหัตถ์ให้ยาวเท่ากัน
3.พระพุทธรูปสลักศิลาที่มีรูปแบบอันแสดงถึงอิทธิพลของพระพุทธรูปสุโขทัยที่วิวัฒนาการมาเป็นพระพุทธรูปที่เรียกว่าหมวดใหญ่และพระพุทธรูปสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร
          ซึ่งได้แพร่หลายสู่เมืองเชียงใหม่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่๒๐ ก็ได้ปรากฏให้เห็นในพระพุทธรูปสลักศิลาที่พะเยา เพราะช่วงเวลานั้นเมืองพะเยาถูกรวมอยู่ในแคว้นล้านนาแล้ว ดังจะเห็นได้จากเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายจากวัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ที่แสดงลักษณะแบบสุโขทัยคือ มีพระพักตร์รูปรี พระขนงโก่ง หัวพระขนงจรดกันลงมาเป็นสันพระนาสิก รูปพระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อิ่ม ริมพระโอษฐ์บางเม้มเล็กน้อย คล้ายคลึงกับสกุลช่างกำแพงเพชรที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ พระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยมจะแคบงุ้มและมีลักษณะยาว ขนงเปลือก พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ดูมีขนาดเล็ก พระขนงตีกว้างเป็นเหมือนปีกกา
          พระพุทธรูปสลักศิลาที่แสดงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยาที่แฝงอยู่กับศิลปะสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร คงแพร่หลายมาที่เมืองพะเยาในคราวที่พระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ขึ้นมาครองเมืองพะเยาในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และได้สร้างพระพุทธรูปสำริดมีจารึกที่ฐาน ระบุปีสร้างพุทธศักราช ๒๐๙๑ และคงเป็นต้นแบบทางศิลปะให้แก่พระพุทธรูปสกุลช่างพะเยา อันจะนำไปสู่การแสดงลักษณะท้องถิ่นในเวลาต่อมา
     ความเจริญรุ่งเรืองและในความงามที่มีของฝีมือสกุลช่างกำแพงเพชรของเราที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครนั้นยังได้แพร่อิทธิพลไปยังเมืองเชียงแสนพบความงดงามของพระพุทธรูปศิลปะล้านนาเมืองเชียงแสน โดยเราจะสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะวิวัฒนาการรูปแบบและกำหนดอายุสมัยออกเป็น 3 ระยะ ด้วยกัน

                ระยะที่ 1 ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในระยะนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะที่ 1 ที่สร้างขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเดิมเรียกกันว่า พระเชียงแสนรุ่นแรก หรือ สิงห์หนึ่ง และพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ซึ่งสร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นที่เจดีย์ประธานวัดป่าสัก กลุ่มพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่จากวัดปงสนุกและพระเจ้าล้านทอง ที่วัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
            ระยะที่ 2 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 พุทธลักษณะมีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากระยะที่ 1 มีการผสมผสานทางรูปแบบมีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาสกุลช่างกำแพงเพชรและพื้นเมืองแรกเข้ามาอย่างเห็นได้ชัด พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในระยะนี้มักมีแนวเส้นไรประศกปรากฏอยู่เหนือกรอบพระนลาฏ ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวไล่เลี่ยกัน ส่วนฐานมักขยายขึ้นและมีการตกแต่งลวดลายเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องและรูปเคารพ เช่น องค์อื่นเช่น พระสาวก และรูปเทวดา เป็นต้น
ระยะที่ 3 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 24 ราว 150 ปี ก่อนที่เมืองเชียงแสนจะถูกทิ้งร้างไปในปี พ.. 2347 นั้น บรรดาพระพุทธรูปที่สร้างมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้นตามอิทธิพลที่ได้รับ ทั้งศิลปะลาว ศิลปะอยุธยา และอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นที่แทรกเข้ามาสูงมากในระยะนี้ แม้ว่ารูปแบบและปางของพระพุทธรูปจะมีมากขึ้นกว่าระยะก่อน แต่ฝีมือช่างเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งสัดส่วนของพระพุทธรูป การหล่อสำริด และแกะสลัก
 

การเผยแพร่อิทธิพลสกุลช่างกำแพงเพชรไปยังอยุธยา

จากการแบ่งหมวดของพระพุทธรูปทั้ง 4 ประเภทนั้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดปะติมากรรมพระพุทธรูปสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชรของเราขึ้นมา ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงแหล่งที่พบในจังหวัดกำแพงเพชรของเรานั้นก็สามารถชมได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะได้พบกับความงามอันล้ำค่าที่ยังคงเหลือให้เราได้เห็น ย้อนประวัติศาสตร์กลับไปภายหลังจากการสิ้นกรุงสุโขทัยแล้วเราจะทราบว่าภายหลังกรุงสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเหมือนสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ขยายอิทธิพลของปะติมากรรมไปยังกรุงศรีอยุธยา โดย ในสมัยอยุธยานั้นได้มีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของช่างกำแพงเพชรอยู่ในช่วงอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 ได้มีการรับรูปแบบศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา ศิลปะอยุธยาด้วยการผสมผสานจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะใหม่ขึ้นมา เป็นลักษณะที่สวยงามเลอค่าอย่างมาก ทำให้เกิดปะติมากรรม พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งจะสามารถแบ่งพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา สกุลช่างกำแพงเพชรออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคที่ 1 คือ นิยมสร้างพระพุทธรูปตามแบบพุทธลักษณะศิลปะอยุธยาตอนต้น
(ลักษณะศิลปะอู่ทอง แบบที่
3) ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบพุทธศิลปะที่ผสมผสานศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชรเข้าไปด้วย เป็นการผสมผสานที่ลงตัว ลักษณะของพระพุทธรูป คือมีพระพักตร์เป็นรูปไข่ เหนือพระนลาฎมีไรพระศก พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง พระวรกายจะเพรียวบาง ครองจีวรเปิดพระอังสาชวา และมีพระอังสาซ้ายนั้นมาพาดทับด้วยสังฆาฎิที่มีส่วนปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบจะประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งจะไม่มีการตกแต่งลายกลีบบัว มาจนถึงยุคที่ 2 ในยุคที่ 2 นี้พุทธศิลปะในกำแพงเพชรนับตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา มีการรับรูปแบบพุทธศิลปะสมัยล้านนามาร่วมใช้ ผสมผสานกับพุทธศิลปะสุโขทัยสกุลกำแพงเพชร จะมีลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูป คือรูปไข่ ไม่มีไรพระศกเหนือพระนลาฎ พระวรกายค่อนข้างอวบ และหลังจากนั้นมาจนถึงช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง ความนิยมในการสร้างนั้นพระพุทธรูปจะทรงเครื่องน้อยจนถึงน้อยมากทรงศิราภรณ์มีกรรเจียกยื่นเป็นครีบออกมาเหนือพระกรรณขององค์พระพุทธรูป อันเป็นลักษณะเด่นของศิลปะอยุธยาในช่วงเวลาดังกล่าว ในช่วงนี้เวลานี้ได้มีการแพร่หลายมาสู่กำแพงเพชรอย่างมากและพุทธลักษณะเช่นนี้ เมื่อเวลาเดินทางมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลายได้มีการพัฒนาเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ซึ่งพบการสร้าง
พระพุทธรูปแบบนี้ในจังหวัดกำแพงเพชรของเรา จะได้เห็นได้ว่ามีการรับและแลกเปลื่ยนศิลปะปะติมากรรมระหว่างทั้งกันจนทำให้ปะติมากรรมรูปแบบใหม่ขึ้นมา ถ้าจะย้อนกลับไปว่าทำไมกำแพงเพชรและอยุธยาจึงได้มีความสัมพันธ์กันจากการศึกษาถึงข้อมูลที่แท้จริงนั้นนั้นได้เกิดจากการที่กำแพงเพชรดำรงสถานะเป็นเมืองสำคัญของรัฐสุโขทัย ต่อต่อเนื่องมาจนถึง พ.. 1952 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช (พ..1952 –..1967) ปกครองรัฐอยุธยาพระองค์ได้ทรงขยายพระราชอำนาจเข้าครอบครองรัฐสุโขทัยส่งให้เมืองกำแพงเพชรส่งผลให้เมืองกำแพงเพชรอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอยุธยา โดยเมืองกำแพงเพชรมีสถานะสำคัญเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการต้านทาน กองทัพพม่ามิให้รุกคืบรุกรานลงมาจนถึงกรุงศรีอยุธยารวมทั้งยังคงเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าทางบกและทางน้ำบริเวณลำน้ำปิงนอกจากนี้ ตำนานพระพุทธสิหิงค์และตำนานรัตนพิมพวงศ์ยังได้กล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร (พระแก้วมรกต) ประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่เมืองกำแพงเพชร อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของเมืองกำแพงเพชรต่อกรุงศรีอยุธยา 

ย้อนรอยประวัติศาสตร์สุโขทัย

เมื่อเราย้อนกลับไปในสมัยประวัติศาสตร์ เมืองกำแพงเพชรของเรานั้นเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย มีหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ เมืองกำแพงเพชรจะได้รับอิทธิทางด้านต่างๆมาจากกรุงสุโขทัย อาทิ เช่น ด้านการดำเนินชีวิต ด้านการทำการเกษตร ด้านการตั้งถิ่นฐานที่อยู่ ร่วมถึงการได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมและปะติมากรรมมาได้อย่างชัดเจน ในที่นี้ เราได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปะติมากรรมพระพุทธรูป โดยได้ศึกษาจากข้อมูลจดหมายเหตุของศาสตราจารย์ ม.. สุภัทรดิศ ดิศกุล จะได้ข้อมูลว่าในสมัยสุโขทัยเราสามารถแบ่งพระพุทธรูปออกเป็น 4 หมวดใหญ่ คือ (1) หมวดใหญ่ซึ่งมีอยู่ทั่วไปเป็นลักษณะ ของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ มีลักษณะคือพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโกง พระนาสิกงุ้ม (ตามแบบมหาบุรุษลักษณะจากอินเดีย ) พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก กรองจีวรห่มเฉียงชายจีวรยาวลงมาจนถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ อยู่ในปางมารวิชัย ประทับขัด สมาธิราบฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง จะมีลักษณะเฉพาะเป็นพระพุทธรูปจะอยู่ใน 4 อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และ เดิน   
(2) หมวดกำแพงเพชร พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดกำแพงเพชรมีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับในหมวดใหญ่ แต่จะมีลักษณะที่เด่นไม่ซ้ำที่ใดเลย คือ มีลักษณะพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยมจะแคบและมีลักษณะยาว ขนงเปลือก พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ จะดูมีขนาดเล็ก เป็นลักษณะยาว ค้นพบน้อยเป็นศิลปกรรมที่มีค่าอย่างมากของชาวกำแพงเพชร
(3) หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์รูปไข่ มีเปลวบนปลายยอดพระเกตุค่อนข้างสูงกว่าหมวดใหญ่มาก พระพักตร์ค่อนข้างกลม นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกันบางครั้งมีฐานบัวรองหมวดพิษณุโลกชั้นหลัง มีลักษณะทรวดทรงยาว ดูไม่มีชีวิตจิตใจ จีวรมีลักษณะแข็งชายจีวรมักทำเป็นรองอๆ เหมือนกับขมวดม้วนชายผ้า ส่วนใหญ่มักทำเป็นพระยืนสร้างขึ้นหลังจากที่สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาแล้ว
 (4) หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน หมวดนี้จะมีลักษณะเป็นแบบผสมคือ การผสมระหว่างศิลปะแบบเชียงแสน แบบลังกากับแบบสุโขทัยเข้าด้วยกัน มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์กลม มีรัศมีแบบลังกา บางองค์มีชายผ้าสังฆาฏิสั้น พระนลาฎแคบ

บทนำ

ผู้คนในสังคมปัจจุบันบางครั้งอาจมองข้ามโบราณสถาน ประติมากรรมพระพุทธรูปหรือสิ่งต่างๆเหล่านี้ บางคนอาจคิดว่าเป็นเพียงสถานที่แห่งหนึ่งของจังหวัดเท่านั้น แต่ไม่เคยเข้าใจถึงที่มาของสิ่งเหล่านั้น เราจะพบเห็นแต่เพียงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีความสนใจในศิลปะประติมากรรมเหล่านี้ จากการพบเห็นโบราณสถานบริเวณด้านหน้าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม โรงเรียนของพวกเรา เป็นชีวิตประจำวันและการพบเห็นโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในเมืองกำแพงเพชรตามที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อสงสัยในศิลปะประติมากรรมพระพุทธรูปที่เราพบเห็น
 ทำให้ทางคณะผู้จัดทำอยากจะศึกษาเจาะลึกถึงที่มาและศิลปะประติมากรรมพระพุทธรูปอย่างลึกซึ้งว่าเป็นอย่างไร
     ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงได้ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศิลปะประติมากรรมพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชรเพื่อทำการเผยแพร่ข้อมูล เพื่อศึกษาถึงที่มา ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของประติมากรรมพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร
     ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะมอบสาระความรู้ ถึงที่มาของศิลปะประติมากรรมพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชรของเรา ให้ความรู้เรื่องลักษณะสำคัญเป็นสิ่งที่ล้ำค่าอย่างมากของจังหวัดกำแพงเพชรของเรา โดยหวังว่าจะมอบสาระความรู้ให้แก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี