จากการแบ่งหมวดของพระพุทธรูปทั้ง 4
ประเภทนั้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดปะติมากรรมพระพุทธรูปสุโขทัย
สกุลช่างกำแพงเพชรของเราขึ้นมา
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงแหล่งที่พบในจังหวัดกำแพงเพชรของเรานั้นก็สามารถชมได้ที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
จะได้พบกับความงามอันล้ำค่าที่ยังคงเหลือให้เราได้เห็น ย้อนประวัติศาสตร์กลับไปภายหลังจากการสิ้นกรุงสุโขทัยแล้วเราจะทราบว่าภายหลังกรุงสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา
จึงเป็นเหมือนสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ขยายอิทธิพลของปะติมากรรมไปยังกรุงศรีอยุธยา
โดย ในสมัยอยุธยานั้นได้มีการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของช่างกำแพงเพชรอยู่ในช่วงอายุราวพุทธศตวรรษที่
20 – 21 ได้มีการรับรูปแบบศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนา
ศิลปะอยุธยาด้วยการผสมผสานจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะใหม่ขึ้นมา
เป็นลักษณะที่สวยงามเลอค่าอย่างมาก ทำให้เกิดปะติมากรรม
พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งจะสามารถแบ่งพระพุทธรูปศิลปะอยุธยา
สกุลช่างกำแพงเพชรออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคที่ 1 คือ นิยมสร้างพระพุทธรูปตามแบบพุทธลักษณะศิลปะอยุธยาตอนต้น
(ลักษณะศิลปะอู่ทอง แบบที่ 3) ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบพุทธศิลปะที่ผสมผสานศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชรเข้าไปด้วย เป็นการผสมผสานที่ลงตัว ลักษณะของพระพุทธรูป คือมีพระพักตร์เป็นรูปไข่ เหนือพระนลาฎมีไรพระศก พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง พระวรกายจะเพรียวบาง ครองจีวรเปิดพระอังสาชวา และมีพระอังสาซ้ายนั้นมาพาดทับด้วยสังฆาฎิที่มีส่วนปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบจะประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งจะไม่มีการตกแต่งลายกลีบบัว มาจนถึงยุคที่ 2 ในยุคที่ 2 นี้พุทธศิลปะในกำแพงเพชรนับตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา มีการรับรูปแบบพุทธศิลปะสมัยล้านนามาร่วมใช้ ผสมผสานกับพุทธศิลปะสุโขทัยสกุลกำแพงเพชร จะมีลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูป คือรูปไข่ ไม่มีไรพระศกเหนือพระนลาฎ พระวรกายค่อนข้างอวบ และหลังจากนั้นมาจนถึงช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง ความนิยมในการสร้างนั้นพระพุทธรูปจะทรงเครื่องน้อยจนถึงน้อยมากทรงศิราภรณ์มีกรรเจียกยื่นเป็นครีบออกมาเหนือพระกรรณขององค์พระพุทธรูป อันเป็นลักษณะเด่นของศิลปะอยุธยาในช่วงเวลาดังกล่าว ในช่วงนี้เวลานี้ได้มีการแพร่หลายมาสู่กำแพงเพชรอย่างมากและพุทธลักษณะเช่นนี้ เมื่อเวลาเดินทางมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลายได้มีการพัฒนาเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ซึ่งพบการสร้าง
พระพุทธรูปแบบนี้ในจังหวัดกำแพงเพชรของเรา
จะได้เห็นได้ว่ามีการรับและแลกเปลื่ยนศิลปะปะติมากรรมระหว่างทั้งกันจนทำให้ปะติมากรรมรูปแบบใหม่ขึ้นมา
ถ้าจะย้อนกลับไปว่าทำไมกำแพงเพชรและอยุธยาจึงได้มีความสัมพันธ์กันจากการศึกษาถึงข้อมูลที่แท้จริงนั้นนั้นได้เกิดจากการที่กำแพงเพชรดำรงสถานะเป็นเมืองสำคัญของรัฐสุโขทัย
ต่อต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 1952 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนครินทราธิราช
(พ.ศ.1952 – พ.ศ.1967)
ปกครองรัฐอยุธยาพระองค์ได้ทรงขยายพระราชอำนาจเข้าครอบครองรัฐสุโขทัยส่งให้เมืองกำแพงเพชรส่งผลให้เมืองกำแพงเพชรอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐอยุธยา
โดยเมืองกำแพงเพชรมีสถานะสำคัญเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการต้านทาน กองทัพพม่ามิให้รุกคืบรุกรานลงมาจนถึงกรุงศรีอยุธยารวมทั้งยังคงเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าทางบกและทางน้ำบริเวณลำน้ำปิงนอกจากนี้
ตำนานพระพุทธสิหิงค์และตำนานรัตนพิมพวงศ์ยังได้กล่าวถึงการประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร
(พระแก้วมรกต) ประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่เมืองกำแพงเพชร
อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของเมืองกำแพงเพชรต่อกรุงศรีอยุธยา (ลักษณะศิลปะอู่ทอง แบบที่ 3) ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบพุทธศิลปะที่ผสมผสานศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชรเข้าไปด้วย เป็นการผสมผสานที่ลงตัว ลักษณะของพระพุทธรูป คือมีพระพักตร์เป็นรูปไข่ เหนือพระนลาฎมีไรพระศก พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง พระวรกายจะเพรียวบาง ครองจีวรเปิดพระอังสาชวา และมีพระอังสาซ้ายนั้นมาพาดทับด้วยสังฆาฎิที่มีส่วนปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบจะประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายซึ่งจะไม่มีการตกแต่งลายกลีบบัว มาจนถึงยุคที่ 2 ในยุคที่ 2 นี้พุทธศิลปะในกำแพงเพชรนับตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา มีการรับรูปแบบพุทธศิลปะสมัยล้านนามาร่วมใช้ ผสมผสานกับพุทธศิลปะสุโขทัยสกุลกำแพงเพชร จะมีลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูป คือรูปไข่ ไม่มีไรพระศกเหนือพระนลาฎ พระวรกายค่อนข้างอวบ และหลังจากนั้นมาจนถึงช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง ความนิยมในการสร้างนั้นพระพุทธรูปจะทรงเครื่องน้อยจนถึงน้อยมากทรงศิราภรณ์มีกรรเจียกยื่นเป็นครีบออกมาเหนือพระกรรณขององค์พระพุทธรูป อันเป็นลักษณะเด่นของศิลปะอยุธยาในช่วงเวลาดังกล่าว ในช่วงนี้เวลานี้ได้มีการแพร่หลายมาสู่กำแพงเพชรอย่างมากและพุทธลักษณะเช่นนี้ เมื่อเวลาเดินทางมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลายได้มีการพัฒนาเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ซึ่งพบการสร้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น