วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การเผยแพร่อิทธิพลสกุลช่างกำแพงเพชรไปยังพะเยและล้านนาเชียงแสน

และนอกจากศิลปะสกุลช่างกำแพงเพชรของเรานั้นจะเผยแพร่อิทธิพลไปเป็นส่วนหนึ่งส่วนเสริมเป็นรูปแบบต้นแบบดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาแล้วยังได้มีการเผยแพร่อิทธิพลเกี่ยวกับในด้านพุทธปะติมากรรมพระพุทธทางตอนเหนืออีกด้วย ซึ่งอยู่ในแถบของเมืองพะเยาทางตอนเหนือ พระพุทธรูปสลักจากศิลาทรายสกุลช่างพะเยาในระยะแรกๆมีรูปแบบคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรก จากนั้นจึงปรากฏการรับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร อยู่ในช่วงสั้นๆก่อนจะมีวัฒนาการจนมีลักษณะเป็นพื้นบ้านไปในที่สุด การคลี่คลายเป็นลักษณะพื้นบ้านของพระพุทธรูปสลักหินสกุลช่างพะเยานี้ เกิดขึ้นพร้อมกับการคลี่คลายของพระพุทธรูปตามเมืองอื่นๆในดินแดนล้านนารวมทั้งที่เมืองเชียงใหม่แต่เนื่องจากเป็นงานสลักศิลาจึงมีการคลี่คลายที่หลากหลายน้อยกว่าในพระพุทธรูปสำริดหรือปูนปั้น และอาจเป็นเพราะพะเยาเป็นเมืองชายเขตที่ห่างไกลจากศูนย์กลางจึงทำให้มีวิวัฒนาการทางศิลปะดำเนินไปช้ากว่าเมืองที่อยู่ใกล้ศูนย์กลาง
 การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพุทธรูปสลักศิลาสกุลช่างพะเยา อาจแบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบคือ
1.พระพุทธรูปสลักศิลาที่มีรูปแบบสัมพันธ์กันกับพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริดแบบเชียงแสนรุ่นแรก
2.พระพุทธรูปรุ่นแรกของศิลปะสุโขทัยที่ปั้นด้วยปูน ทั้งยังเกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะหริภุญไชย โดยการสลักนิ้วพระหัตถ์ให้ยาวเท่ากัน
3.พระพุทธรูปสลักศิลาที่มีรูปแบบอันแสดงถึงอิทธิพลของพระพุทธรูปสุโขทัยที่วิวัฒนาการมาเป็นพระพุทธรูปที่เรียกว่าหมวดใหญ่และพระพุทธรูปสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร
          ซึ่งได้แพร่หลายสู่เมืองเชียงใหม่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่๒๐ ก็ได้ปรากฏให้เห็นในพระพุทธรูปสลักศิลาที่พะเยา เพราะช่วงเวลานั้นเมืองพะเยาถูกรวมอยู่ในแคว้นล้านนาแล้ว ดังจะเห็นได้จากเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายจากวัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ที่แสดงลักษณะแบบสุโขทัยคือ มีพระพักตร์รูปรี พระขนงโก่ง หัวพระขนงจรดกันลงมาเป็นสันพระนาสิก รูปพระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์อิ่ม ริมพระโอษฐ์บางเม้มเล็กน้อย คล้ายคลึงกับสกุลช่างกำแพงเพชรที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ พระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยมจะแคบงุ้มและมีลักษณะยาว ขนงเปลือก พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ดูมีขนาดเล็ก พระขนงตีกว้างเป็นเหมือนปีกกา
          พระพุทธรูปสลักศิลาที่แสดงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยาที่แฝงอยู่กับศิลปะสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร คงแพร่หลายมาที่เมืองพะเยาในคราวที่พระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ขึ้นมาครองเมืองพะเยาในต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และได้สร้างพระพุทธรูปสำริดมีจารึกที่ฐาน ระบุปีสร้างพุทธศักราช ๒๐๙๑ และคงเป็นต้นแบบทางศิลปะให้แก่พระพุทธรูปสกุลช่างพะเยา อันจะนำไปสู่การแสดงลักษณะท้องถิ่นในเวลาต่อมา
     ความเจริญรุ่งเรืองและในความงามที่มีของฝีมือสกุลช่างกำแพงเพชรของเราที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใครนั้นยังได้แพร่อิทธิพลไปยังเมืองเชียงแสนพบความงดงามของพระพุทธรูปศิลปะล้านนาเมืองเชียงแสน โดยเราจะสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะวิวัฒนาการรูปแบบและกำหนดอายุสมัยออกเป็น 3 ระยะ ด้วยกัน

                ระยะที่ 1 ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในระยะนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนาระยะที่ 1 ที่สร้างขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเดิมเรียกกันว่า พระเชียงแสนรุ่นแรก หรือ สิงห์หนึ่ง และพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ซึ่งสร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 กลุ่มพระพุทธรูปสำคัญได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นที่เจดีย์ประธานวัดป่าสัก กลุ่มพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่จากวัดปงสนุกและพระเจ้าล้านทอง ที่วัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
            ระยะที่ 2 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 พุทธลักษณะมีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากระยะที่ 1 มีการผสมผสานทางรูปแบบมีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาสกุลช่างกำแพงเพชรและพื้นเมืองแรกเข้ามาอย่างเห็นได้ชัด พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในระยะนี้มักมีแนวเส้นไรประศกปรากฏอยู่เหนือกรอบพระนลาฏ ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวไล่เลี่ยกัน ส่วนฐานมักขยายขึ้นและมีการตกแต่งลวดลายเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องและรูปเคารพ เช่น องค์อื่นเช่น พระสาวก และรูปเทวดา เป็นต้น
ระยะที่ 3 ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 24 ราว 150 ปี ก่อนที่เมืองเชียงแสนจะถูกทิ้งร้างไปในปี พ.. 2347 นั้น บรรดาพระพุทธรูปที่สร้างมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้นตามอิทธิพลที่ได้รับ ทั้งศิลปะลาว ศิลปะอยุธยา และอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นที่แทรกเข้ามาสูงมากในระยะนี้ แม้ว่ารูปแบบและปางของพระพุทธรูปจะมีมากขึ้นกว่าระยะก่อน แต่ฝีมือช่างเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งสัดส่วนของพระพุทธรูป การหล่อสำริด และแกะสลัก
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น