วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ย้อนรอยประวัติศาสตร์สุโขทัย

เมื่อเราย้อนกลับไปในสมัยประวัติศาสตร์ เมืองกำแพงเพชรของเรานั้นเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย มีหน้าที่เป็นเมืองหน้าด่านจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ เมืองกำแพงเพชรจะได้รับอิทธิทางด้านต่างๆมาจากกรุงสุโขทัย อาทิ เช่น ด้านการดำเนินชีวิต ด้านการทำการเกษตร ด้านการตั้งถิ่นฐานที่อยู่ ร่วมถึงการได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมและปะติมากรรมมาได้อย่างชัดเจน ในที่นี้ เราได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปะติมากรรมพระพุทธรูป โดยได้ศึกษาจากข้อมูลจดหมายเหตุของศาสตราจารย์ ม.. สุภัทรดิศ ดิศกุล จะได้ข้อมูลว่าในสมัยสุโขทัยเราสามารถแบ่งพระพุทธรูปออกเป็น 4 หมวดใหญ่ คือ (1) หมวดใหญ่ซึ่งมีอยู่ทั่วไปเป็นลักษณะ ของศิลปะสุโขทัยโดยเฉพาะ มีลักษณะคือพระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโกง พระนาสิกงุ้ม (ตามแบบมหาบุรุษลักษณะจากอินเดีย ) พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก กรองจีวรห่มเฉียงชายจีวรยาวลงมาจนถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ อยู่ในปางมารวิชัย ประทับขัด สมาธิราบฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง จะมีลักษณะเฉพาะเป็นพระพุทธรูปจะอยู่ใน 4 อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และ เดิน   
(2) หมวดกำแพงเพชร พระพุทธรูปสุโขทัยหมวดกำแพงเพชรมีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับในหมวดใหญ่ แต่จะมีลักษณะที่เด่นไม่ซ้ำที่ใดเลย คือ มีลักษณะพระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยมจะแคบและมีลักษณะยาว ขนงเปลือก พระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ จะดูมีขนาดเล็ก เป็นลักษณะยาว ค้นพบน้อยเป็นศิลปกรรมที่มีค่าอย่างมากของชาวกำแพงเพชร
(3) หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์รูปไข่ มีเปลวบนปลายยอดพระเกตุค่อนข้างสูงกว่าหมวดใหญ่มาก พระพักตร์ค่อนข้างกลม นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกันบางครั้งมีฐานบัวรองหมวดพิษณุโลกชั้นหลัง มีลักษณะทรวดทรงยาว ดูไม่มีชีวิตจิตใจ จีวรมีลักษณะแข็งชายจีวรมักทำเป็นรองอๆ เหมือนกับขมวดม้วนชายผ้า ส่วนใหญ่มักทำเป็นพระยืนสร้างขึ้นหลังจากที่สุโขทัยตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาแล้ว
 (4) หมวดเบ็ดเตล็ดหรือหมวดวัดตะกวน หมวดนี้จะมีลักษณะเป็นแบบผสมคือ การผสมระหว่างศิลปะแบบเชียงแสน แบบลังกากับแบบสุโขทัยเข้าด้วยกัน มีลักษณะที่สำคัญที่ปรากฏพอประมวลได้คือ พระพักตร์กลม มีรัศมีแบบลังกา บางองค์มีชายผ้าสังฆาฏิสั้น พระนลาฎแคบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น